Diary No. 8 วิชา : การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Subject : Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
Instructor : Trin Jamtin
Wednesday, March 9 , 2559
Time 08.30 - 12.30 .
เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
8.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotion Disorders)
มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้
เด็กที่ควบคุมพฤิตกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็ฏมีนิสัยขี้กลัว
ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป
ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต
การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ตามกลุ่มอาการ
ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
ฉุนเชียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
เอะอะและหยาบคาย
หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
ใช้สารเสพติ
หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ
ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)
จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที
ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
สมาธิสั้น (Attention Deficit)
มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่ง ได้ หยุกหยิกไปมา
พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
ขาดความมั่นใน ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก
* ไม่เคยมุ่งมั่นทำอะไรให้สำเร็จ
ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (Function Disorder)
ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤิตกรรมการกิน (Eating Disorder)
การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation)
การปฏิเสธที่จะรับประทาน
รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
โรคอ้วน (Obesity)
ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจาระและปัสสาวะ (Elimination Disorder)
ภาวะบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง
ขาดเหตุผลในการคิด
อาการหลงผิด (Delusion)
อาการประสาทหลอน (Hallucination)
พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง
* คิดอะไรในหัวเยอะ
สาเหตุ
ปัจจัยทางชีวภาพ (Biology) เช่น ควาามผิดปกติทางร่างกาย
ปัจจัยทางจิตสังคม (Psycho social) เช่น พ่อแม่ทำร้ายร่างกาย
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์
แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
มีความหวาดกลัว
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)
เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders) ADHD
ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ
Inattentiveness สมาธิสั้น
Hyperactivity ซนอยู่ไม่นิ่ง
Impulsiveness หุนหันพลันแล่น
Inattentiveness สมาธิสั้น
ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ
ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ
มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย
เด็กเล็กๆ จะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ
เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด
Hyperactivity ซนอยู่ไม่นิ่ง
ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
เคลื่อนไวอยู่ตลอดเวลา
เหลียวซ้ายแลขวา
ยุกยิกแกะโน่นเกานี่
อยู่ไม่สุข ปีนป่าย
นั่งไม่ติดที่
ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง
Impulsiveness หุนหันพลันแล่น
ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม
ขาดความยับยั้งชั่งใจ
ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ
ไม่อยู่ในกติกา
ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง
พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง
ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน
สาเหตุ
ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง เช่น โดปามีน (Dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine)
ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัวอยู่ที่สมองส่วนหน้า (Frontal Cortex)
พันธุกรรม
สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น
สมาธิสั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของพ่อแม่่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี ตามใจมากเกินไป หรือปล่อยปละละเลยจนเกินไป และไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก
*เกิดจากการทำงานของสมอง
ยารักษาโรคสมาธิสั้นที่มีใช้ในประเทศไทย
มี 2 กลุ่มหลัก ๆ
Methylphenidate
Atomoxetine
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
อุจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน
ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก
ดูดนิ้ว กัดเล็บ
หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม
เรียกร้องความสนใจ
อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
ขึ้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว
ฝันกลางวัน
พูดเพ้อเจ้อ
9. เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps)
เด็กที่มีความบกพร่องที่มากว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด
Assessment.
Skills. (ทักษะที่ได้รับ)
- ทักษะการตอบคำถาม
- ได้รู้ลักษณะของเด็กพิเศษแต่ละประเภท และได้รู้กับวิธีการเข้าหาเด็กที่บกพร่องทางอารมณ์
Application. ( การนำไปใช้)
- จะได้รู้ความต้องการของเด็กแต่ละประเภท และจะได้จัดกิจกรรมให้เด็กมีความต้องการพิเศษได้ถูกต้องเหมาะสมตามวัยและพัฒนาการของเด็ก และช่วยขจัดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์กับเด็ก และเสริมพฤติในทางที่ดี ลดพฤติกรรมที่ชอบตีเพื่อน หรือทำร้ายคนรอบข้างเป็นต้น
Classroom Atmosphere. (บรรยากาศในห้องเรียน)
- อากาศเย็นสบายดี สื่อเทคโนโลยีใช้งานได้ดีิ ห้องสะอาดเรียบร้อย เก้าอี้เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา
Technical Education. (เทคนิคการสอน)
- มีการยกตัวอย่างผลงานของเด็กพิเศษแต่ละประเภทให้ดู ซึ่งเป็นผลงานของเด็กที่บกพร่องในแต่ละประเภทจริงๆ
- มีการยกตัวอย่างเด็กที่บกพร่องทางอารมณ์
- มีการเตรียมเนื้อหาที่จะสอนมาอย่างดี สอนเนื้อหาต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนได้ดี
- พูดด้วยน้ำเสียงหลายโทน เป็นเทคนิคการ เร้าความสนใจของผู้เรียน
- มีการกระตุ้นผู้เรียนให้มาเรียนไว ด้วยการแจกดาวเด็กดี
Self-Assessment. (ประเมินตนเอง)
- แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและตอบคำถามมาเรียนตรงเวลา
Friend-Assessment. (ประเมินเพื่อน)
- เพื่อนตั้งใจเรียน และตอบคำถามได้ดี มีคุยกันบ้างเล็กน้อย
Teacher-Assessment. (ประเมินอาจารย์)
- อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตรงเวลา และมี POWER POINT ในการสอนอย่างดีและน่าสนใจ
- มีการยกตัวอย่างที่ชัดเจนทำให้นักศึกษานึกภาพตามได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น