Diary No. 13 วิชา : การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Subject : Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
Instructor : Trin Jamtin
Wednesday, April 26 , 2559
Time 08.30 - 12.30 .
เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)
แผน IEP
แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
-เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
-ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
-โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
-คัดแยกเด็กพิเศษ
-ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
-ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
-เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
-แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
-ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
-ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
-การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
-เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
-ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
-วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
-ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
-ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
-ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
-ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
-เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
-เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
-เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
-ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
-ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
-ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
-เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
-รายงานทางการแพทย์
-รายงานการประเมินด้านต่างๆ
-บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
-ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
-กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
-กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
-จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
-ระยะยาว
-ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
- น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
- น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
- น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
-ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
-เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
-จะสอนใคร
-พฤติกรรมอะไร
-เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
-พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
3. การใช้แผน
-เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
-นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
-แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
-ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
-ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
-ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
-อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. การประเมินผล
-โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
-ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**
การจัดทำ IEP
กิจกรรมพิเศษส่งท้าย
ให้นักศึกษาใช้สีเทียนในการวาดลงกลม โดยใช้แต่ละวงเชื่อมต่อกันไม่มีช่องว่าง
แล้วทายลักษณะนักศึกษาจากการระบายสีวงกลม
จิตใจอ่อนโยน ใจดี เข้ากับคนอื่นได้ง่าย
หลังจากนั้นให้แต่ละคนนำวงกลมมาแปะที่ผนังโดยที่ไปแปะทีละคนโดยไม่มีเสียง
ต้นไม้ร่วมใจ
Assessment.
Skills. (ทักษะที่ได้รับ)
- ทักษะการตอบคำถาม
- ได้รู้ลักษณะของเด็กพิเศษแต่ละประเภทและได้รู้กับวิธีการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กพิเศษแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Application. ( การนำไปใช้)
- จะได้รู้ความต้องการของเด็กแต่ละประเภท และจะได้จัดกิจกรรมให้เด็กมีความต้องการพิเศษได้ถูกต้องเหมาะสมตามวัยและพัฒนาการของเด็ก และช่วยขจัดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์กับเด็ก และเสริมพฤติในทางที่ดี ลดพฤติกรรมที่ชอบตีเพื่อน หรือทำร้ายคนรอบข้างเป็นต้น
- จากกิจกรรมวาดวงกลมข้างต้น ทำให้ได้รู้สิ่งที่อยู่ภายในของนักศึกษาแต่ละคน โดยส่วนมากตรงเกือบทุกคน จากที่อาจารย์ได้อธิบายลักษณะของแต่ละชั้น แต่ละสี ว่ามีความหมายอย่างไร
Classroom Atmosphere. (บรรยากาศในห้องเรียน)
- อากาศเย็นสบายดี เรียนตึกใหม่ สื่อเทคโนโลยีใช้งานได้ดีิ ห้องสะอาดเรียบร้อย เก้าอี้เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา
Technical Education. (เทคนิคการสอน)
- มีการยกตัวอย่างผลกิจกรรม การสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้รู้จักการช่วยเหลือตนเองเบื้องต้น
- มีการยกตัวอย่างการย่อยงาน การช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษในแต่ละประเภท
- มีการเตรียมเนื้อหาที่จะสอนมาอย่างดี สอนเนื้อหาต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนได้ดี
- พูดด้วยน้ำเสียงหลายโทน เป็นเทคนิคการ เร้าความสนใจของผู้เรียน
- มีการกระตุ้นผู้เรียนให้มาเรียนไว ด้วยการแจกดาวเด็กดี
Self-Assessment. (ประเมินตนเอง)
- แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและตอบคำถามมาเรียนตรงเวลา
Friend-Assessment. (ประเมินเพื่อน)
- เพื่อนตั้งใจเรียน และตอบคำถามได้ดี มีคุยกันบ้างเล็กน้อย
Teacher-Assessment. (ประเมินอาจารย์)
- อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตรงเวลา และมี POWER POINT ในการสอนอย่างดีและน่าสนใจ
- มีการยกตัวอย่างที่ชัดเจนทำให้นักศึกษานึกภาพตามได้
- มีข้อคิดที่ดีให้กับนักศึกษา มีการให้นักศึกษาวาดภาพจากสิ่งที่เห็นและให้นักศึกษาเขียนอธิบายภาพ เป็นเทคนิคการสอนอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้นักศึกษาจำได้ขึ้นใจ
- มีการสบตากับนักศึกษาอย่างทั่วถึง สนใจนักศึกษาทุกคน
- มีกิจกรรมที่น่าสนใจอยู่ตลอดเวลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น