Diary No. 11 วิชา : การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Subject : Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
Instructor : Trin Jamtin
Wednesday, March 30 , 2559
Time 08.30 - 12.30 .
เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
รูปแบบการจัดการศึกษา
-การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
-การศึกษาพิเศษ (Special Education)
-การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
-เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสม---กับความต้องการพิเศษของเขา
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
-มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
-ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
-ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
-เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
-เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
-เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
-มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
-เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
-การศึกษาสำหรับทุกคน
-รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
-จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
Wilson , 2007
-การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก
-การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
-กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้
-เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง
"Inclusive Education is Education for all, It involves receiving people at the beginning of their education, with provision of additional services needed by each individual"
สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
-เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่ม--เข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
-เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
-เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน(Education for All)
-การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดย-ไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
-เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
-เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
-ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก
ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับเด็กปฐมวัย
-ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
-“สอนได้”
-เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
บทบาทครูปฐมวัย ในห้องเรียนรวม
ครูไม่ควรวินิจฉัย
-การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
-จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
-เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
-ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
-เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
-พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
-พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
-ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
-ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
-ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
ครูทำอะไรบ้าง
-ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
-ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
-สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
-จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
สังเกตอย่างมีระบบ
-ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
-ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
-ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา
การตรวจสอบ
-จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
-เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
-บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
-ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
-ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
-พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
-การนับอย่างง่ายๆ
-การบันทึกต่อเนื่อง
-การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
การนับอย่างง่ายๆ
-นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
-กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
-ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง
-ให้รายละเอียดได้มาก
-เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
-โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
-บันทึกลงบัตรเล็กๆ
-เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
-ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
-พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
-ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
-พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
กิจกรรมวาดภาพดอกบัวพร้อมทั้งบรรยายลักษณะของดอกบัว
นำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตข้าที่เราเป็นครู เราต้องหน้าที่บันทึกพฤติกรรมเด็กตามที่เห็น ต้องไม่บันทึกแบบมีการใส่อารมณ์และความคิดเห็นส่วนตัวของครู ให้บันทึกในสิ่งที่เห็นเท่านั้น
Assessment.
Skills. (ทักษะที่ได้รับ)
- ทักษะการตอบคำถาม
- ได้รู้ลักษณะของเด็กพิเศษแต่ละประเภท และได้รู้กับวิธีการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กพิเศษแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Application. ( การนำไปใช้)
- จะได้รู้ความต้องการของเด็กแต่ละประเภท และจะได้จัดกิจกรรมให้เด็กมีความต้องการพิเศษได้ถูกต้องเหมาะสมตามวัยและพัฒนาการของเด็ก และช่วยขจัดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์กับเด็ก และเสริมพฤติในทางที่ดี ลดพฤติกรรมที่ชอบตีเพื่อน หรือทำร้ายคนรอบข้างเป็นต้น
- จากกิจกรรมวาดดอกบัวข้างต้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตข้าที่เราเป็นครู เราต้องหน้าที่บันทึกพฤติกรรมเด็กตามที่เห็น ต้องไม่บันทึกแบบมีการใส่อารมณ์และความคิดเห็นส่วนตัวของครู ให้บันทึกในสิ่งที่เห็นเท่านั้น
Classroom Atmosphere. (บรรยากาศในห้องเรียน)
- อากาศเย็นสบายดี สื่อเทคโนโลยีใช้งานได้ดีิ ห้องสะอาดเรียบร้อย เก้าอี้เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา
Technical Education. (เทคนิคการสอน)
- มีการยกตัวอย่างผลงานของเด็กพิเศษแต่ละประเภทให้ดู ซึ่งเป็นผลงานของเด็กที่บกพร่องในแต่ละประเภทจริงๆ
- มีการยกตัวอย่างเด็กที่บกพร่องทางอารมณ์
- มีการเตรียมเนื้อหาที่จะสอนมาอย่างดี สอนเนื้อหาต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนได้ดี
- พูดด้วยน้ำเสียงหลายโทน เป็นเทคนิคการ เร้าความสนใจของผู้เรียน
- มีการกระตุ้นผู้เรียนให้มาเรียนไว ด้วยการแจกดาวเด็กดี
Self-Assessment. (ประเมินตนเอง)
- แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและตอบคำถามมาเรียนตรงเวลา
Friend-Assessment. (ประเมินเพื่อน)
- เพื่อนตั้งใจเรียน และตอบคำถามได้ดี มีคุยกันบ้างเล็กน้อย
Teacher-Assessment. (ประเมินอาจารย์)
- อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตรงเวลา และมี POWER POINT ในการสอนอย่างดีและน่าสนใจ
- มีการยกตัวอย่างที่ชัดเจนทำให้นักศึกษานึกภาพตามได้
- มีข้อคิดที่ดีให้กับนักศึกษา มีการให้นักศึกษาวาดภาพจากสิ่งที่เห็นและให้นักศึกษาเขียนอธิบายภาพ เป็นเทคนิคการสอนอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้นักศึกษาจำได้ขึ้นใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น