Diary No. 3 วิชา : การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
Subject : Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
Instructor : Trin Jamtin
Wednesday, January 27 , 2559
Time 08.30 - 12.30 .
เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ
ประเภทของเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
ตัวอย่างเด็กที่มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา
Akrit Jaswal : ศัลยแพทย์อายุ 7 ขวบ
Akrit Jaswal เป็นชาวอินเดีย และได้รับการขนานนามว่า “เด็กผู้ชายที่ฉลาดที่สุดในโลก” เพราะมี IQ ถึง 146 และได้รับการยอมรับว่าเป็นคนที่ฉลาดที่สุดในเด็กที่อายุเท่า ๆ กันในอินเดีย ประเทศที่มีประชากรนับพันล้านคน Akrit กลายเป็นจุดสนใจของสาธารณะในปี 2000 เมื่อเขาได้ทำการ รักษาคนไข้คนแรกที่บ้านของเขาเองเมื่อมีอายุเพียง 7 ขวบ คนไข้เป็นเด็กผู้หญิงอายุ 8 ขวบ มีฐานะยากจนไม่มีเงินพอที่จะไปหาหมอ มือของเธอถูกไฟลวกทำให้นิ้วมือกำแน่นติดกัน Akrit ในตอนนั้นยังไม่ได้เรียนแพทย์ อย่างเป็นทางการ และยังไม่มีประสบการณ์ในการ
ผ่า ตัดใด ๆ ทั้งสิ้น แต่เขาก็สามารถทำให้นิ้วมือของเด็กหญิงคลายออกมาได้ และ ใช้มือได้เป็นปกติอีก ครั้ง ขณะนี้ Akrit กำลังเรียนปริญญาตรีวิทยาศาสตร์อยู่ที่ วิทยาลัย Chandigarh และเป็นนักศึกษาที่อายุน้อยที่สุดที่ มหาวิทยาลัยอินเดียเคยรับเข้าเรียน
สาเหตุของการเรียนช้า
1.ภายนอก
- เศรษฐกิจของครอบครัว
- การสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก
- สภาวะทางด้านอารมณ์ของคนในครอบครัว
- การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
- วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ
2. ภายใน
- พัฒนาการช้า
- การเจ็บป่วย
เด็กปัญญาอ่อน
- ระดับสติปัญญาต่ำ
- พัฒนาการล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย
- มีพฤติกรรมการปรับตนบกพร่อง
- อาการแสดงก่อนอายุ 18
พฤติกรรมการปรับตน
•การสื่อความหมาย
•การดูแลตนเอง
•การดำรงชีวิตภายในบ้าน
•การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม
•การใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน
•การควบคุมตนเอง
•การนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน
•การใช้เวลาว่าง
•การทำงาน
•การมีสุขอนามัยและความปลอดภัยเบื้องต้น
เด็กปัญญาอ่อนแบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม
1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
- ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่าง ๆ ได้เลย
- ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น
2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34
•ไม่สามารถเรียนได้ ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเอ
ในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่าย ๆ
•กลุ่มนี้เรียกโดยทั่วไปว่า C.M.R (Custodial Mental
Retardation)
3. เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49
- พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่าย ๆ ได้
- สามารถฝึกอาชีพ หรือทำงานง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้ความ
ละเอียดลออได้
- เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R (Trainable Mentally Retarded)
4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70
•เรียนในระดับประถมศึกษาได้
•สามารถฝึกอาชีพและงานง่าย ๆ ได้•เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า E.M.R (Educable Mentally Retarded)
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
•ไม่พูด หรือพูดได้ไม่สมวัย
•ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก
•ความคิด และอารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย รอคอยไม่ได้
•ทำงานช้า
•รุนแรง ไม่มีเหตุผล
•อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
•ช่วยตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
ดาวน์ซินโดรม Down Syndrome
สาเหตุ
•ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21
•ที่พบบ่อยคือโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง (Trisomy 21)
อาการ
•ศีรษะเล็กและแบน คอสั้น
•หน้าแบน ดั้งจมูกแบน
•ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก
•ใบหูเล็กและอยู่ต่ำ รูหูส่วนนอกจะตีบกว่าปกติ
•เพดานปากโค้งนูน ขากรรไกรบนไม่เจริญเติบโต
•ช่องปากแคบ ลิ้นยื่น ฟันขึ้นช้าและไม่เป็นระเบียบ
•มือแบนกว้าง นิ้วมือสั้น
•เส้นลายมือตัดขวาง นิ้วก้อยโค้งงอ
•ช่องระหว่างนิ้วเท้าที่ 1 และ 2 กว้าง
•มีความผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย
•บกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
•อารมณ์ดีเลี้ยงง่าย ร่าเริง เป็นมิตร
•มีปัญหาในการใช้ภาษาและการพูด
•อวัยวะเพศมักเจริญเติบโตไม่เต็มที่ทั้งในชายและหญิง
2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
(Children with Hearing Impaired )
หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยินเป็นเหตุ ให้การรับฟังเสียงต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจนมี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และ เด็กหูหนวก
เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้ โดยใช้เครื่องช่วยฟัง จำแนกกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม
1. เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินตั้งแต่ 26-40 dB
เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงเบา ๆ เช่น เสียงกระซิบ หรือเสียงจากที่ไกล ๆ
2. เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินตั้งแต่ 41-55 dB
- เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงพูดคุยที่ดังในระดับปกติในระยะห่าง 3-5 ฟุต และไม่เห็นหน้าผู้พูโ
- จะไม่ได้ยิน ได้ยินไม่ชัด จับใจความไม่ได้
- มีปัญหาในการพูดเล็กน้อย เช่น พูดไม่ชัด ออกเสียงเพี้ยน พูดเสียงเบา หรือเสียงผิดปกติ
3. เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินตั้งแต่ 56-70 dB
- เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังและเข้าใจคำพูด
- เมื่อพูดคุยกันด้วยเสียงดังเต็มที่ก็ยังไม่ได้ยิน
- มีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายเสียงพร้อมกับ
- มีพัฒนาการทางภาษาและการพูดช้ากว่าปกติ
- พูดไม่ชัด เสียงเพี้ยน บางคนไม่พูด
4. เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินตั้งแต่ 71-90 dB
- เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงและการเข้าใจคำพูดอย่างมาก
- ได้ยินเฉพาะเสียงที่ดังใกล้หูในระยะ 1 ฟุต
- การพูดคุยด้วยต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียง
- เด็กจะมีปัญหาในการแยกเสียง
- เด็กมักพูดไม่ชัดและมีเสียงผิดปกติ บางคนไม่พูด
เด็กหูหนวก
- เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน
- เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
- ไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้
- ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
•ไม่ตอบสนองเสียงพูด เสียงดนตรี มักตะแคงหูฟัง
•ไม่พูด มักแสดงท่าทาง
•พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์
•พูดด้วยเสียงแปลก มักเปล่งเสียงสูง
•พูดด้วยเสียงต่ำหรือด้วยเสียงที่ดังเกินความจำเป็น
•เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูด หรือจ้องหน้าผู้พูด
•รู้สึกไวต่อการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนไหวรอบตัว
•มักทำหน้าที่เด๋อเมื่อมีการพูดด้วย
3. เด็กที่บกพร่องทางการเห็น (Children with Visual Impairments)
- เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเลือนราง
- มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
- สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
- มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา
จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ เด็กตาบอด และ เด็กตาบอดไม่สนิท
เด็กตาบอด
- เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรือมองเห็นบ้าง
- ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้
- มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60 , 20/200 ลงมาจนถึงบอดสนิท
- มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดแคบกว่า 5 องศา
เด็กตาบอดไม่สนิท
- เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา
- สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ
- เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18, 20/60, 6/60, 20/200 หรือน้อยกว่านั้น
- มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการเห็น
•เดินงุ่มง่าม ชนและสะดุดวัตถุ
•มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
•มักบ่นว่าปวดศีรษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันตา
•ก้มศีรษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า
•เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่ง เมื่อใช้สายตา
•ตาและมือไม่สัมพันธ์กันมีความลำบากในการจำ และแยกแยะสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต
ประมวลภาพระหว่างเรียน
Assessment.
Skills. (ทักษะที่ได้รับ)
- ทักษะการตอบคำถาม
Application. ( การนำไปใช้)
- จะได้รู้ความต้องการของเด็กแต่ละประเภท และจะได้จัดกิจกรรมให้เด็กมีความต้องการพิเศษได้ถูกต้องเหมาะสมตามวัยและพัฒนาการของเด็ก
Classroom Atmosphere. (บรรยากาศในห้องเรียน)
- อากาศเย็นสบายดี สื่อเทคโนโลยีใช้งานได้ดีิ ห้องสะอาดเรียบร้อย
Technical Education. (เทคนิคการสอน)
- มีการเสริมแรงให้นักศึกษาเป็นระยะ ใครคุยอาจารย์ก็จะเดินเข้าไปใกล้ๆ
- มี EYE CONTACT กับนักศึกษา
- พูดด้วยน้ำเสียงหลายโทน เป็นเทคนิคการ เร้าความสนใจของผู้เรียน
- มีการกระตุ้นผู้เรียนให้มาเรียนไว ด้วยการแจกดาวเด็กดี
Self-Assessment. (ประเมินตนเอง)
- แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและตอบคำถามมาเรียนตรงเวลา
Friend-Assessment. (ประเมินเพื่อน)
- เพื่อนตั้งใจเรียน และตอบคำถามได้ดี
Teacher-Assessment. (ประเมินอาจารย์)
- อาจารย์ให้เทคนิคในการจัดกิจกรรมได้ดี ทั้งยังมีการยกตัวอย่างกิจกรรมที่เข้าใจง่าย สามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต และมีการฝึกให้นักศึกษาเกิดความรู้และคิดด้วยตนเอง